เมืองสงขลา

นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้

1/18/2554

อาหารท้องถิ่นของสงขลา


เต้าคั่ว เป็นอาหารว่าง คล้ายยำสลัด มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน ประกอบด้วยเส้นหมี่ เต้าหู้ทอด หมูหั่นเป็นชิ้น กุ้งฝอยสดผสมแป้งและน้ำกะทิทอดกรอบ ไข่ต้ม ผักบุ้งลวก ถั่วงอกลวก แตงกว่าหั่นฝอย ราดด้วยน้ำยา ซึ่งทำจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำตาลปี๊บ เจ้าอร่อยอยู่ด้านหลังตลาดกิมหยง
เต้าหู้ยี้เสวย เป็นอาหารขึ้นชื่อของเมืองสงขลา ต้นตำรับต้องของตระกูลสุมังคละ ถนนนางงาม ร้านนี้สืบทอดกรรมวิธีในการผลิตตามแบบบรรพบุรุษมา 4 ช่วงคน ที่ได้ชื่อว่า ?เต้าหู้ยี้เสวย? เพราะเคยทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 มาแล้ว
ขนมดู เป็นขนมขึ้นชื่อของสทิงพระ มีรสชาติหอมหวาน มัน ทำจากการนำข้าสารไปคั่วจนสุกกรอบ นำไปโม่ให้ละเอียดผสมกับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น จากั้นใส่มะพร้าวแก่ขูด ใส่เกลือ คนจนขนมแห้ง ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วปั้นเป็นก้อนแล้วคลุกแห้งเพื่อไม่ให้ติดมือ
ยำสาหร่าย เป็นอาหารท้องถิ่นของชาวเกาะยอ รับประทานกับใบชะพลู นอกจากนั้นยังมีสาหร่ายตากแห้งนำไปใส่แกงจืดหรือผัดรับประทานแทนเส้นหมี่ ดีกว่าตรงที่เส้นมีความกรุบกรอบ
ปลาดุกร้า ทำจากปลาดุกอุยนำไปหมักในภาชนะดินเผา ที่เรียกว่า เนียง จากนั้นนำไปตาก แล้วชุบน้ำตาลโตนดข้น แล้วหมักอีกครั้ง เวลารับประทาน นำมาทอดหรือย่าง สามารถเก็บไว้ได้นาน
คนสงขลา
สงขลา ตั้งอยู่บนเส้นทางติดต่อโลกวัฒนธรรมตะวันออก-ตะวันตก หมู่เกาะและแผ่นดินใหญ่ จึงเป็นบ้านหลอมทางชาติพันธุ์ เป็นขอบรอยต่อระหว่างวัฒนธรรมฮินดู-พุทธ-มุสลิม และเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล อันเป็นผลจากการที่สงขลาเป็นเมืองท่าการค้าเสรีมาตั้งแต่อดีต
คนไทยพุทธ
เป็นคนท้องถิ่นภาคใต้ มีทั้งคนท้องถิ่นสงขลา และที่อพยพมาจากพัทลุง นครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่และทำนา
คนไทยมุสลิม
อยู่ภายใต้วัฒนธรรมชวา-มลายู คนไทยมุสลิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง หรือค้าขาย ตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลสาบ และอ่าวไทย นอกจากนั้น ยังมีชุมชนชาวไทยมุสลิมในเขตรอยต่อวัฒนธรรมพุทธ ? มุสลิม ระหว่างจังหวัดสงขลา-ปัตตานี ในเขตอำเภอเทพา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และในเขตอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดยะลา
คนไทยเชื้อสายจีน
ชาวจีนฮกเกี้ยนเริ่มมาตั้งถิ่นฐาน และมีบทบาททางเศรษฐกิจ และการปกครองในสงขลาช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา โดยเริ่มจากนายจีนเหยี่ยง แซ่เฮา คนจีน และวัฒนธรรมจีนเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยอย่างเด่นชัดช่วงรัชกาลที่ 3-5 ปัจจุบันแหล่งคนจีนกลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งคนจีนเป็นผู้บุกเบิกเปลี่ยนป่าให้เป็นเมืองธุรกิจสำคัญในทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น